Server (เซิร์ฟเวอร์) คืออะไร และการเลือกใช้ Server ควรคำนึงถึงอะไรบ้าง

664
Computer technology isometric icon, server room, digital device set, element for design, pc laptop, mobile phone with smartwatch, cloud storage, flat vector illustration

” ถ้าให้นิยาม ความหมาย เชิงฮาร์ดแวร์นั้น คงจะบอกว่า เครื่อง Server (เซิร์ฟเวอร์) นั้น เป็นกล่องๆ หนึ่ง ซึ่งบรรจุโปรเซสเซอร์ ไว้ภายใน 1 ตัว หรือตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป ประกอบไปด้วย หน่วยความจำ พร้อมทั้ง ฮาร์ดดิสก์ ที่มีความจุ ขนาดใหญ่ ซึ่ง เครื่อง Server (เซิร์ฟเวอร์) นี้เอาไว้ ให้บริการกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องอื่นๆ ผ่าน ระบบเครือข่าย”

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ isometric, Server (เซิร์ฟเวอร์), ชุดอุปกรณ์ดิจิทัล, องค์ประกอบสำหรับการออกแบบ, แล็ปท็อปพีซี, โทรศัพท์มือถือพร้อมสมาร์ทวอทช์, ที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์

การนำเซิร์ฟเวอร์ไปใช้งาน

ในการใช้งาน เครื่อง Server (เซิร์ฟเวอร์) ของเรานั้น อาจจะใช้งานหลากหลาย ออกไปตามการใช้งาน เซิร์ฟเวอร์ นั้น เช่น เมล์เซิร์ฟเวอร์, แอพพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์, เว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือว่า เซิร์ฟเวอร์ แบบอื่นๆ เว็บเซิร์ฟเวอร์ เป็น เซิร์ฟเวอร์ ซึ่ง ให้บริการ ส่งคำร้องขอ ที่เป็นหน้าเว็บเพจไปให้ เครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ผ่าน ระบบเครือข่าย เมล์เซิร์ฟเวอร์ ก็มีหน้าที่ ในการให้บริการ รับส่งอีเมล์ จนกระทั่ง ถึงปลายทางของผู้รับ แอพพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์ จะต้องมีการติดตั้ง ซอร์ฟแวร์ ในฝั่งไคลเอนต์ เอาไว้ด้วย เช่น ซอฟต์แวร์ด้านบัญชีของบริษัท เป็นต้น

Web Server ให้บริการการ เรียกใช้งาน Website โดยใช้ HTTP Protocนl ผ่าน Web Browser ตัวอย่าง Software สำหรับรัน Web Server เช่น Apache, Nginx, IIS และ Tomcat เป็นต้น 

Database Server ให้บริการ และ จัดเก็บฐานข้อมูล เช่น MySQL, MariaDB, PostgreSQL และ Microsoft SQL Server เป็นต้น 

Application Server ให้บริการ โปรแกรมประยุกต์ รองรับ การพัฒนา Application และรัน Application ต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ 

Mail Server ให้บริการ การรับส่งอีเมล์ ตัวอย่างเช่น Exim, Sendmail, Zimbra และ Microsoft Exchange เป็นต้น 

Virtual Server ให้บริการแชร์ Server Configuration หรือการจำลอง Server เสมือน ตัวอย่างเช่น KVM, Xen Server, VMware ESXi และ Microsoft Hyper-V เป็นต้น 

File Server ให้บริการ การจัดเก็บข้อมูล เช่นไฟล์เอกสาร, Multimedia เป็นต้น ตัวอย่าง โปรแกรมสำหรับ File Server เช่น Owncloud, SharePoint Server และ Dropbox เป็นต้น 

DNS Server ให้บริการ การจัดเก็บข้อมูล ชื่อโดเมนเมน ช่วยแปลง หมายเลข IP Address เป็นชื่อ Domain Name ตัวอย่างเช่น Bind, PowerDNS และ MyDNS เป็นต้น 

วิธีการเลือก Server (เซิร์ฟเวอร์)

การคำนึงถึง คุณสมบัติ ของเครื่อง ที่จะนำมาเป็น Server (เซิร์ฟเวอร์) นั้นจึงต้อง พิจารณากัน โดยละเอียด โดยต้องคำนึงถึง บริการ หรือ รูปแบบ การใช้งาน ด้วยว่าจะใช้ทำอะไร ดังเช่น เครื่องที่นำมาเป็น เครื่องเว็บเซิร์ฟเวอร์ นั้นจะต้องมีความเร็วของแลนการ์ด ที่สูง(10/100/1000) หน่วยความจำมาก ส่วนเครื่องที่นำมาทำเป็น เครื่อง ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ หรือ แอพพลิเคชั่นเซิร์ฟเวอร์ นั้น จะต้องเป็น เครื่องที่มีความจุ ของสื่อบันทึกข้อมูล จำพวกฮาร์ดดิสก์มาก และ มีความเร็ว ในการอ่านเขียนข้อมูลสูง

Server (เซิร์ฟเวอร์) ประกอบไปด้วย

โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือหน่วยประมวลผลที่เรียกกันอย่างคุ้นเคยว่าซีพียูนั้น ที่เหมาะสำหรับใช้งานในองค์กรขนาดเล็กๆ แล้วละก็ ซีพียูที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีโดยทั่วๆ ไปก็นำมาใช้งานได้เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น

ชิปเซ็ต (Chipset) สำหรับ เครื่องเซิร์ฟเวอร์นั้น จะใช้ชิปเซ็ต ที่ออกแบบมา สำหรับจัดการงานประมวลผลโดยเฉพาะ ซึ่งจะเห็นว่าชิปเซ็ตนั้นต้องรองรับเทคโนโลยีการประมวลผล

หน่วยความจำหลัก (Main Memory) สำหรับหน่วยความจำที่ใช้สำหรับเซิร์ฟเวอร์นั้นจะมีลักษณะเฉพาะออกไปโดยคุณสมบัติที่ใช้กับเครื่องเซิร์ฟเวอร์นั้นจะเป็นประเภท

ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) ถือเป็นอีกองค์ประกอบสำคัญของระบบ โดยปกตินั้นจะต้องมีความจุที่มีขนาดใหญ่ทั้งนี้เพื่อเป็นพื้นที่ในการจัดสรรให้กับเครื่องไคลเอนต์ที่ต่อเชื่อมอยู่ให้พอเพียง

สล็อตส่วนขยาย (Expension Slots) เรื่องของสล็อตและพอร์ตก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อน โดยเฉพาะถ้าการใช้งานของเรานั้นต้องการเชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นๆ ภายนอกอย่าง เทปแบ็คอัพ อุปกรณ์ ออพติคอล สำหรับบันทึก หรือ ทำสำรองข้อมูล

ระบบไฟฟ้าสำรองและระบบระบายความร้อน (Power Suplly & Fan Hot-Plug) เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย ปกติแล้วจะมาในรูปของ Chassis ซึ่งต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน FCC หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเคียงกัน

เคส (Rack / Tower) จะเลือกเซิร์ฟเวอร์ในแบบ Tower Case หรือแบบ Rack นั้นจะต้องคำนึงถึงพื้นที่ที่เราจะใช้สำหรับตั้งเครื่องกัน ถ้าเลือกในแบบ Tower นั้นจะกินพื้นที่มากกว่า แต่ถ้าเลือกแบบ Rack นั้นจะช่วยประหยัดพื้นที่และดูแลรักษาเครื่องได้ง่าย สำหรับองค์กรที่มีแผนอยากจะเพิ่มเติมหรือขยายความต้องการขึ้นไปอีก

RAID (Redundant Array of Inexpensive Disk) คือการนำเอา Harddisk ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปมาทำงานร่วมกันเสมือนเป็น harddisk ตัวเดียวที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น หรือมีโอกาสที่จะสูญเสียข้อมูลน้อยลง ในกรณีที่เกิดความผิดพลาดของ hardware

Raid

มีหลายประเภท ขึ้นอยู่กับ การใช้งาน Raid ที่นิยมการใช้ก็มี RAID 0, RAID 1, RAID 5, RAID 10

RAID 0 คือการเอา harddisk มากกว่า 1 ตัวมาต่อร่วมกันในลักษณะ non-redundant ซึ่ง RAID 0 นี้มีจุดประสงค์ เพื่อที่จะเพิ่มความเร็วในการอ่าน/เขียนข้อมูล harddisk โดยตรง ไม่มีการเก็บข้อมูลสำรอง ดังนั้น ถ้าฮาร์ดดิสก์ตัวใดตัวหนึ่งเกิดเสียหาย ก็จะส่งผล ให้ข้อมูลทั้งหมด ไม่สามารถใช้งาน ได้ทันที

RAID 1 มีอีกชื่อหนึ่งว่า disk mirroring จะประกอบไปด้วย harddisk 2 ตัวที่เก็บข้อมูล เหมือนกัน ทุกประการ เสมือน การสำรองข้อมูล หาก harddisk ตัวใดตัวหนึ่งเกิดเสียหาย ระบบก็ยังสามารถดึงข้อมูลจาก harddisk อีกตัวหนึ่งมาใช้งานได้ตามปกติ

RAID 5 ได้นำข้อดีของ RAID แบบต่างๆ มารวมไว้ในตัวเอง คือ ราคา ประสิทธิภาพ และความสามารถ ในการป้องกัน ข้อมูลสูญหาย เพราะ RAID แบบต่างๆ จะมีข้อดีไม่ครบทั้งหมด คืออย่างมากก็ได้แค่ 2 ใน 3 อย่าง RAID 1+0 ประสิทธิภาพดี ป้องกันข้อมูลได้ แต่แพงมาก RAID 5 ต้องการ HDD 3 ตัวในการทำงาน โดยนำเนื้อที่ของ HDD แต่ละตัวมาเก็บรวมกันเป็น 1 Logic Drive เหมือน การ ทำงาน ของ RAID 0

RAID 10 หรือ RAID 0+1 เป็น การ ผสมผสาน ระหว่าง RAID 0 และ RAID 1 เข้าด้วยกัน ทำให้ การเข้าถึง ข้อมูล เป็นไปได้ อย่าง รวดเร็ว และมีการทำ mirror ข้อมูล (backup ข้อมูล) ไปด้วย ข้อเสีย ของ RAID 10 คือ การเพิ่ม จำนวน harddisk ในอนาคต เป็นไปได้ ยาก เพราะ harddisk แต่ละตัวมี mirror เป็นของตัวเอง ยิ่งเพิ่ม harddisk เพื่อใช้งานก็ต้อง เพิ่ม harddisk เพื่อ backup ไปด้วย เหมาะสำหรับ Server ที่ต้องการ ความเร็ว ในการเข้าถึง ข้อมูล ค่อนข้างมาก และไม่ต้องการ ความจุ มากนัก

ระบบปฏิบัติการที่ใช้ใน Server (เซิร์ฟเวอร์) จะเป็น 3 ระบบปฏิบัติการนี้คือ

  1. Linux สำหรับ Linux Distribution ที่ได้รับ ความนิยม ได้แก่ Debian, Ubuntu, Redhat และ Fedora เป็นต้น Linux เป็นระบบปฏิบัติการ ที่ใช้งานโดย ไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อม ทั้งมี นักพัฒนา อยู่ทั่วโลก ร่วมกัน พัฒนา ด้วย
  2. Windows สำหรับ Windows ที่นิยมใช้เป็น server ได้แก่ Windows Server 2003 และ Windows Server 2008 ซึ่งเป็น ระบบปฏิบัติการ จาก ไมโครซอฟท์ ที่มีความเสถียรและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
  3. Unix สำหรับ Unix สำหรับ ระบบปฏิบัติการ นี้ เป็น ระบบปฏิบัติการ ที่เก่าแก่ ระบบหนึ่ง ที่ยังใช้งานอยู่ จนถึงทุกวันนี้ ได้แก่ BSD

ประโยชน์ของการใช้ Server (เซิร์ฟเวอร์)

  1. ประสิทธิภาพสูง สามารถประมวลผล หรือ รองรับการใช้งาน Software และ Application พร้อมกัน ได้ในปริมาณมาก ๆ
  2. ปลอดภัย เซิร์ฟเวอร์ส่วนใหญ่ให้บริการภายใต้ Data Center ที่มีความน่าเชื่อถือสูง จึงถูกดูแลและบริหารจัดการจากผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ พร้อมตรวจสอบปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
  3. น่าเชื่อถือ ออกแบบมาเพื่อรองรับการประมวลผลปริมาณสูง พร้อม Hardware ที่มีประสิทธิภาพ และพร้อมให้บริการได้ตลอดเวลา จึงยาก ต่อการเกิด Downtime และ การสูญเสียของข้อมูลเมื่อ Hardware มีปัญหา
  4. สะดวกและมีความยืดหยุ่น รองรับการเข้าใช้งานได้ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ปราศจากข้อจำกัด เรื่องอุปกรณ์ และการเข้าถึง สามารถจัดการ ปรับปรุง แก้ไข และแชร์ข้อมูล พร้อมกันได้อย่างรวดเร็ว
  5. จัดการง่าย เซิร์ฟเวอร์รองรับการติดตั้ง Software ได้หลากหลายชนิด Software หรือ Application อาจมาพร้อมกับ User Interface ให้ผู้ใช้สามารถบริการจัดการหรือตั้งค่าได้อย่างง่ายดาย
  6. นอกจากนี้เซิร์ฟเวอร์ ยังสามารถ แบ่งเบาภาระงาน และ ลดความซ้ำซ้อน ของ การรันโปรแกรมหรือ Application ต่างๆ ไว้บนเซิร์ฟเวอร์เพียงเครื่องเดียว ช่วยให้ผู้ดูแลสามารถดูแลและบริการจัดการระบบทั้งหมดได้จากส่วนกลางเพียงจุดเดียว ทั้งยังช่วยลดความซ้ำซ้อนของการใช้ทรัพยากร เช่น Disk และ หน่วยประมวลผล ที่ทำให้เกิด ความยุ่งยาก ต่อการจัดการ รวมถึงยัง เป็นศูนย์กลางของข้อมูล ลด การกระจัดกระจาย ของ ข้อมูล ออกไปยัง อุปกรณ์ อื่นๆ ได้อีกด้วย

ปัจจุบัน Cloud Server เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะเป็นการโฮสต์ โดยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเอง ซึ่งมีทั้ง Cloud Provider ในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งในต่างประเทศนั้น จะมีราคาสูง เพราะมีเรื่องของมูลค่า ในเรื่องของการดูเรื่องความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็น Microsoft Azure, Google Cloud, หรือ AWS

การเลือก Server (เซิร์ฟเวอร์) เพื่อใช้งานของคุณ เป็นอีกคำตอบหนึ่ง ในการทำธุรกิจ เพื่อช่วยให้การทำงาน ของคุณ เป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย ในการจัดเก็บข้อมูล บริษัท พีพี ออนไทม์ จำกัด เรามีบริการ ครบวงจร ในการติดตั้ง และ วางระบบ ด้วยประสบการณ์ กว่า 20 ปี พร้อม ความไว้วางใจ จากองค์กรชั้นนำต่างๆ ในประเทศไทย ทั้งภาครัฐ และ เอกชน

บริษัท พีพี ออนไทม์ จำกัด ฝ่ายบริการลูกค้า (NOC) โทร: 02 056 2099 Ext.1 (ตลอด 24 ชั่วโมง) Website : www.pp-ontime.co.th Facebook Page : www.facebook.com/ppontime Youtube : https://bit.ly/3s2GcgE Line : https://lin.ee/qoJSyU7 Linkedin : https://www.linkedin.com/company/ppontime