เฟซบุ๊ก Opass Putcharoen ของ ศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ ได้โพสต์ถึงประเด็นของ “โควิดสายพันธุ์ใหม่” ระบุว่า ซีซั่นของ BA.4 และ BA.5 ปีนี้ทั้งปีจะมีขบวนพาเหรดลูกหลานของ “โอมิครอน” ระบาดกันเป็นระลอก ไวรัสจะเก็บตกคนที่ยังไม่ติด เพราะไวรัสจะมีการเปลี่ยนแปลงให้ติดง่ายกว่าเดิม คนก็จะวนเวียนอยู่กับการติดเชื้อทั้งในคนที่ฉีดวัคซีนไปแล้วและติดเชื้อซ้ำในคนที่เคยติดเชื้อมาก่อน ข้อมูลของคนที่เคยติดเชื้อซ้ำจากยุโรปอยู่ที่ 0.7 – 0.9% แต่จริงๆ ตัวเลขน่ามากกว่านี้ การติดเชื้อซ้ำยังไม่มีอาการหนัก
ทั่วโลกสัดส่วนของ BA.4 และ BA.5 เพิ่มขึ้นกำลังแทนที่สายพันธุ์เดิม น่าจะเป็นสายพันธุ์ร่วมที่ทำให้มีการระบาดระลอกใหม่เล็กๆในหลายประเทศ หลังจากนี้ก็จะมีลูกหลาน “โอมิครอน” ระบาดเป็นระลอกเล็กๆน้อยๆยังเราคงสร้างกำแพงต้านการติดเชื้อไม่ได้ แต่ต้านโรคที่รุนแรงได้จากวัคซีน ซึ่งอย่างน้อยการได้เข็มกระตุ้นจะช่วยได้
ส่วนข้อมูลของความรุนแรงของ BA.4 BA.5 ก็ยังไม่มีข้อมูลว่าร้ายกว่า “โอมิครอน” ตัวดั้งเดิม ในแอฟริกาใต้ดูเหมือนว่าจะรุนแรงน้อยกว่าโอมิครอน BA.2 แต่ยุโรปบางประเทศก็บอกว่าความรุนแรงพอๆกับโอมิครอน ดูจากอัตราการนอนโรงพยาบาล ปอดอักเสบ อัตราการเสียชีวิต
อาการของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 (ระลอกใหม่) ผู้ที่ติดเชื้อโควิดสายพันธ์ใหม่ จะแสดงอาการตั้งแต่ระดับความรุนแรงน้อยไปถึงระดับความรุนแรงมาก
มีไข้ (ไข้สูงติดต่อกัน 48 ชั่วโมง)
ไอแห้ง
ไอมีเสมหะ
ไม่มีเรี่ยวแรง หอบเหนื่อย
หายใจลำบาก
เจ็บคอ
ปวดหัว
จมูกไม่ได้กลิ่น
อ่อนเพลีย
อาการทางผิวหนัง
มีผื่นแดงลักษณะคล้ายตาข่ายหรือเส้นใยเล็กๆ
มีจุดเลือดออก
มีผื่นบวมแดงคล้ายโรคลมพิษ
บางรายมีลักษณะกลุ่มของตุ่มน้ำคล้ายโรคสุกใส
เกิดอาการฉับพลัน ร่วมกับอาการมีไข้ ไอ จาม และระบบทางเดินหายใจอื่นๆ
กลุ่มเสี่ยงติดเชื้อไวรัสโควิดสายพันธ์ใหม่
- เด็กเล็ก (แต่อาจไม่พบอาการรุนแรงเท่าผู้สูงอายุ)
- ผู้สูงอายุ
- คนที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน โรคปอดเรื้อรัง
- คนที่ภูมิคุ้มกันผิดปกติ หรือกินยากดภูมิต้านทานโรคอยู่
- คนที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานมาก (คนอ้วนมาก)
- ผู้ที่เดินทางไปในประเทศเสี่ยงติดเชื้อ เช่น จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊า สิงคโปร์ มาเลเซีย เวียดนาม อิตาลี อิหร่าน ฯลฯ
- ผู้ที่ต้องทำงาน หรือรักษาผู้ป่วย ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 อย่างใกล้ชิด
- ผู้ที่ทำอาชีพที่ต้องพบปะชาวต่างชาติจำนวนมาก เช่น คนขับแท็กซี่ เจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาล ลูกเรือสายการบินต่าง ๆ เป็นต้น
11 ข้อปฏิบัติผู้ติดเชื้อ โควิดสายพันธ์ใหม่ ขณะรอรถมารับไป รพ.
ทั้งนี้ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แนะ 11 วิธีดูแลตัวเองอยู่บ้าน เมื่อติดโควิด 19 ก่อนเข้า รพ. ในกรณีที่จำเป็นต้องดูแลตัวเองท้าน ในขณะที่รอการรับการรักษาที่ รพ. ได้แก่
- กักตัวในห้องแยกจากผู้อื่น ไม่อยู่กับใคร ในห้องแอร์ หากจเป็นต้องอยู่ห้องกับใครให้เปิดหน้าต่างไว้ให้อากาศถ่ายเท
- สวมหน้ากากอนามัย ตลอดเวลาที่ออกมานอกห้องหรือต้องเข้าใกล้ผู้อื่น
- แยกของใช้ อุปกรณ์รับประทานอาหาร และแก้วน้ำ ไม่รับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
- แยกขยะ แยกการใช้ห้องน้ำ (ถ้าแยกไม่ได้ ใช้เป็นคนสุดท้ายและล้างห้องน้ำหลังใช้ทุกครั้ง)
- ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ หรือถูกมือด้วยเจลแอลกอฮอล์เป็นประจำ โดยเฉพาะหลังขับถ่าย
- ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่สุด สะอาด ตามหลักโภชนาการ ทานผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง
- ทำจิตใจให้สบาย ลดวิตกกังวล
- สั่งสินค้า Delivery มาอย่าลืมใส่หน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อยๆ
- เมื่อใช้ลิฟต์ พกปากกา ไม้ลูกชิ้น เป็นที่กดลิฟต์ ไม่ยืนพิงลิฟต์หรือสัมผัสลิฟต์
- หากมีอาการป่วย เกิดขึ้นใหม่ หรืออาการเดิมมากขึ้น เช่น ไข้สูง ไอมาก เหนื่อย แน่นหน้าอก หอบ หายใจไม่สะดวก เบื่ออาหาร ให้ติดต่อสายด่วน 1669 , 1668 , หรือโหลดแอปฯ EMS 1669 เพื่อกดเรียกรถพยาบาลกรณีฉุกเฉิน
- กรณีอยู่บ้านหรือคอนโด กรุณาแจ้งนิติบุคคล
การปฏิบัติตัวให้ปลอดภัยเมื่อต้องออกไปชอปปิ้ง หรือซื้อของช่วงโควิดสายพันธ์ใหม่
- ต้องสวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา
- เลือกเข้าร้านที่มีระบบระบายอากาศที่ดี คนไม่หนาแน่น
- วัดไข้ และลงทะเบียนเช็คอิน เมื่อเข้าหรือออกจากร้าน
- เข้าคิวตามที่ร้านกำหนด และเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล 1-2 เมตร
- สวมถุงมือพลาสติก หากทางร้านจัดไว้ให้สำหรับหยิบจับสิ่งของ และควรใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
- ล้างมือเมื่อจับจุดสัมผัสร่วมกับผู้อื่น เช่น ลูกบิดประตู ปุ่มลิฟต์
- เลือกชำระเงินด้วยระบบ E-Payment
- ควรใช้เวลาในการช้อปปิ้งหรือซื้อของให้น้อยที่สุด
สิ่งที่ต้องทำเมื่อกลับถึงบ้าน เพื่อให้บ้านปลอดโควิดสายพันธ์ใหม่
- เมื่อกลับถึงบ้าน ควรถอดรองเท้าไว้นอกบ้าน เพราะรองเท้าอาจจะเหยียบติดสารคัดหลั่งจากภายนอกเข้ามาได้
- ถอดหน้ากากอนามัย พับทิ้งลงถังขยะภายนอกบ้าน หรือถังขยะที่ปิดมิดชิดหรือหากสวมหน้ากากผ้า ควรซักทำความสะอาดทุกวัน
- ล้างมือก่อนเปิดประตูบ้าน เพื่อป้องกันเชื้อโรคที่อาจติดมากับมือ
- เช็ดกระเป๋า กุญแจ หรือเครื่องใช้ส่วนตัวต่าง ๆ ที่อาจะนำไปวางตามพื้นที่สาธารณะ
- ห้ามนั่งเก้าอี้ หรือโซฟาก่อนอาบน้ำ
- แยกซักเสื้อผ้าที่ใส่นอกบ้านกับในบ้านออกจากกัน
- อาบน้ำ สระผม เปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่
5 สมุนไพร พื้นบ้านช่วยต้านทานโควิดสายพันธ์ใหม่
“สมุนไพร” ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ ที่เป็นจุดแข็งของประเทศไทย มีการใช้กันมายาวนานนับพันปีเป็นภูมิปัญญารุ่นต่อรุ่น ปัจจุบันได้มีการศึกษาวิจัยต่อยอดจนเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวาง ยิ่งในช่วงสถานการณ์โควิด ประเทศไทยได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่าสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว และมีการพูดถึงจุดแข็งที่สามารถจะต่อยอดไปสู่ความมั่นคงด้านการดูแลสุขภาพสามารถดึงนักท่องเที่ยวที่รักสุขภาพจากต่างประเทศให้เข้ามาในประเทศไทย
ล่าสุด ได้พัฒนาสมุนไพรในประเทศไทย เพื่อเตรียมการรองรับการแพร่ระบาดของ โรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ ที่ไม่มีใครคาดเดาได้ โดยหยิบยก สมุนไพรที่จะมีการศึกษาวิจัยต่อยอดได้แก่ ฟ้าทะลายโจร กระชาย ขมิ้นชัน ขิง มะขามป้อม กระเทียม ลองมาดูกันว่า สมุนไพร ที่ว่านั้น มีอะไรบ้าง
1.ฟ้าทะลายโจร มีการศึกษาวิจัยกันอย่างแพร่หลาย ทั้ง จีน สิงคโปร์ รวมถึงประเทศไทย และได้มีการนำเสนอผ่านสื่ออย่างต่อเนื่อง โดยงานวิจัยที่ได้รับการรับรองแล้วพบว่า กลไกต้านไวรัสของฟ้าทะลายโจรป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์, ลดการแบ่งตัวไวรัสภายในเซลล์, เพิ่มภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับไวรัส, ลดการอักเสบที่ปอดจากการติดเชื้อไวรัส
2.ขิง ซึ่งมีรสเผ็ดร้อน มีคุณสมบัติอุ่น พบฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ โดยการใช้พื้นบ้านนำมากินแก้หวัด จากการจำลองภาพสามมิติในคอมพิวเตอร์ พบว่า สารสำคัญ Gingerol และ Gingerol สามารถแย่งจับกับตำแหน่ง main protease ของcoronavirus ที่ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 ได้
3.มะขามป้อม เป็นยาแก้ไอ ละลายเสมหะ พื้นบ้านใช้รักษาหลอดลมอักเสบ วัณโรคปอด หอบหืด ช่วยส่งเสริมการทำงานของ ระบบภูมิคุ้มกัน โดยสาร Phyllanthus และ Chebulagic acid มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ จากการจำลองภาพสามมิติในคอมพิวเตอร์ พบว่า สาร Phyllanemblinin G7 มีความสามารถในการจับกับขาโปรตีน และตัวรับ ACE2 ในการผ่านเข้าเซลล์ปอดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 โดยสามารถยับยั้งการสร้างและการแบ่งตัวของเชื้อซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการเพิ่มจำนวนของไวรัส
4.ขมิ้นชัน จากการศึกษาในหลอดทดลอง พบว่า มีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ ในการป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าเซลล์ ยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัส และช่วยยับยั้งการหลั่งสารอักเสบ ในส่วนของการศึกษาในหนูทดลองพบว่า ขมิ้นชัน ช่วยลดการอักเสบของปอดที่ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอ และช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ทั้งนี้จากการจำลองภาพสามมิติในคอมพิวเตอร์ พบว่า สารสำคัญของขมิ้นชัน และ demethoxycurcumine สามารถแย่งจับกับตำแหน่งของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 ที่มีผลยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้
5.กระเทียม กระเทียมมีฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน สาร allicin ในกระเทียม มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ป้องกันการหลั่งสาร cytokine ที่ทำให้เกิดการอักเสบ นอกจากนี้ยังส่งเสริมการทำงานของเม็ดเลือดขาว นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มแอนติบอดี้ ชนิด immunoglobulin A (IgA) ซึ่งเป็นด่านแรกของภูมิคุ้มกันในร่างกาย โดยพบมากที่ระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร ตามเยื่อเมือกต่างๆ และยังช่วยกระตุ้นการทำงานของ B-cell lymphocyte รวมทั้งกระตุ้นการหลั่งของสาร interferon ซึ่งเป็นสารที่สร้างในระบบภูมิคุ้มกันเพื่อต้านไวรัส จากการจำลองภาพสามมิติในคอมพิวเตอร์ พบว่า สารสำคัญ quercetin และ allicin ที่พบสามารถแย่งจับกับตำแหน่ง main protease ที่ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019
อ้างอิง : Potential Inhibitor of COVID-19 Main Protease (Mpro) from Several Medicinal Plant Compounds by Molecular Docking Study(13 march 2020)
5 homegrown herbs that help fight COVID-19
“Herbs” is one of the important factors. which is the strength of Thailand It has been used for thousands of years as a generation of wisdom. Currently, there have been further research studies until it is widely accepted. Especially during the covid situation Thailand is recognized worldwide for its ability to control the epidemic quickly. And there are talks about strengths that can be built into health care security and can attract health-conscious tourists from abroad to Thailand.
Recently, the development of herbs in Thailand to prepare to support the epidemic Emerging diseases, re-emerging that no one can predict by picking up herbs that will be further researched, such as Andrographis paniculata, Krachai, turmeric, ginger, tamarind, garlic.
Let’s see what herbs that are.
Fah Talai Jone There are extensive research studies, including China, Singapore, and Thailand. and has been presented through the media continuously The research that has been certified has found that Andrographis paniculata’s antiviral mechanism prevents viruses from entering cells, reduces viral replication within cells, increases immunity to fight viruses, reduces lung inflammation caused by viral infections.
Ginger which has a hot and spicy flavor. have warm properties found to be effective against influenza virus By using folk to eat cold. A computer simulation of 3D images revealed that the active ingredients Gingerol and Gingerol can compete for the location of the main protease of the coronavirus. that can help stop the spread of the 2019 coronavirus
Gooseberry is a cough medicine, dissolves phlegm, folk remedies for bronchitis, pulmonary tuberculosis, and asthma. Immune system by Phyllanthus and Chebulagic acid have the effect of reducing inflammation. In computer stereoscopic simulations, Phyllanemblinin G7 has the ability to bind proteins and ACE2 receptors to enter the lung cells of the 2019 coronavirus, inhibiting proliferation and proliferation. It is an important process in virus proliferation.
Turmeric. From in vitro studies, it was found that it was effective against influenza A virus. to prevent the infection from entering the cells inhibit the proliferation of the virus and help inhibit the secretion of inflammatory substances In rat studies, it was found that turmeric reduced inflammation of the lungs infected with the influenza A virus. and help increase immunity From a computer simulation of three-dimensional images, it was found that the important substances of turmeric and demethoxycurcumine able to compete with the position of the 2019 coronavirus that has the effect of inhibiting the replication of the virus
Garlic affects the immune system, allicin in garlic has an anti-inflammatory effect. Prevents the secretion of cytokine that causes inflammation. It also promotes the function of white blood cells. It also increases the antibody type immunoglobulin A (IgA), which is the first line of immunity in the body. It is found mainly in the respiratory system and the gastrointestinal tract. according to various mucous membranes It also stimulates the activity of B-cell lymphocyte as well as stimulates the secretion of interferon, a substance created in the immune system to fight viruses. In computer simulations, quercetin and allicin have been found to compete for the main protease that inhibits the replication of the 2019 coronavirus.
Reference: Potential Inhibitor of COVID-19 Main Protease (Mpro) from Several Medicinal Plant Compounds by Molecular Docking Study(13 march 2020)