ย่านาง หรือใบย่านาง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Tiliacora triandra (Colebr.) Diels มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Bamboo grass ทางภาคเหนือเรียกว่า จ้อยนาง ภาคกลางเรียก เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว และภาคใต้จะเรียกว่า ยาดนาง เป็นพืชในตระกูลไม้เลื้อย กิ่งอ่อนมีขนอ่อนปกคลุม เมื่อแก่แล้วผิวค่อนข้างเรียบ รากมีขนาดใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ รูปร่างใบคล้ายรูปไข่หรือรูปไข่ขอบขนานปลายใบเรียว ฐานใบมน ขนาดใบยาว 5-10 ซม. กว้าง 2-4 ซม. ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 1 ซม. ดอกออกตามซอกโคนก้านใบเป็นช่องยาว 2-5 ซม. ช่อหนึ่ง ๆ มีดอกขนาดเล็กสีเหลือง 3-5 ดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้นไม่มีกลีบดอก ผลรูปร่างกลมรีขนาดเล็ก สีเขียว เมื่อแก่กลายเป็นสีเหลืองอมแดงและกลายเป็นสีดำ ย่านางเป็นพืชที่มีฤทธิ์เย็น สามารถช่วยดับพิษร้อนต่าง ๆ ได้
Yanang or Yanang leaves have a scientific name that Tiliacora triandra (Colebr.) Diels has an English name that Bamboo grass in the north is called Joi Nang, the central region calls Yanang vines, green vines. And the south is called Yad Nang, a plant in the ivy family. Young branches are covered with downy hairs. When old, the skin is quite smooth. roots are large a single leaf out next to the alternating trunk Leaves ovate or oval with oblong edges, apex tapered, base rounded, leaves 5-10 cm long, 2-4 cm wide, smooth margins, petioles 1 cm long. 2-5 cm. One bouquet contains 3-5 small yellow flowers. The flowers are separated from each other without petals. The fruit is small, oval in shape, green when mature, becomes reddish yellow and turns black. Yanang is a cool plant. Can help extinguish various hot poisons.
สรรพคุณทางยาของย่านาง ย่านางนั้นมีสรรพคุณทางยาที่ขึ้นชื่อมากมาย ซึ่งสรรพคุณทางยาไม่ได้มีเพียงแค่ในใบย่านางเพียงอย่างเดียว แต่ส่วนอื่น ๆ ของต้นก็มีประโยชน์มากมายเช่นกัน
สรรพคุณรากย่านาง รากของย่านาง นิยมนำมาใช้เพื่อแก้อาการไข้ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นไข้พิษ ไข้เหนือ ไข้หัด ไข้ฝีดาษ ไข้กาฬ หรือ ไข้ทับระดู และอาการเบื่อเมา นอกจากนี้รากของย่านางยังเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของตำรับยาเบญจโลกวิเชียร หรือยา 5 ราก หรือแก้วห้าดวง ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขประกาศใช้ในบัญชียาสมุนไพร โดยยาดังกล่าวเป็นสามารถรักษาโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในขณะเริ่มแรกได้ โดยนำรากแห้งต้มกับน้ำครั้งละ 1 กำมือ แล้วดื่มก่อนอาหาร วันละ 3 ครั้ง
สรรพคุณใบย่านาง ใบย่านาง คือเป็นส่วนที่มีประโยชน์และถูกนำมาใช้ในการรักษาโรคมากที่สุด เพราะเป็นพืชที่มีฤทธิ์เย็น และมีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณสูง นอกจากนี้ถูกจัดเอาไว้ในตำราสมุนไพรว่าเป็นยาอายุวัฒนะอีกด้วย ซึ่งประโยชน์ของใบย่านางในการรักษาโรคมีดังนี้
รักษาและป้องกันโรคภัยต่าง ๆ
-ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
-ช่วยป้องกันและบำบัดการเกิดโรคหัวใจ
-ช่วยป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งได้
-สำหรับผู้ที่เป็นมะเร็ง หากดื่มน้ำใบย่านางเป็นประจำ จะทำให้ก้อนเนื้อมะเร็งจะฝ่อและเล็กลง
-ช่วยป้องกันและรักษาโรคภูมิแพ้ ไอจาม มีน้ำมูกและเสมหะ
-ช่วยรักษาอาการร้อนแต่ไม่มีเหงื่อ
-ช่วยรักษาอาการของโรคเบาหวาน โดยไปลดระดับน้ำตาลในเลือดให้ลดลง
-มีส่วนช่วยช่วยอาการปวดตึง ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดชาบริเวณต่าง ๆ
-มีส่วนช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรีย
-ช่วยรักษาอาการเกร็ง ชัก หรือเป็นตะคริวบ่อย ๆ
-ช่วยแก้อาการเจ็บเหมือนมีไฟช็อตหรือมีเข็มแทงหรือมีอาการร้อนเหมือนไฟ
-ช่วยแก้อาการเหงือกอักเสบอย่างรุนแรงและเรื้อรัง
-ช่วยรักษาโรคตับอักเสบ
-ช่วยรักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษ
-ช่วยป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวาร
-ช่วยป้องกันการเกิดโรคเกาต์
ระบบทางเดินอาหาร
-ช่วยรักษาอาการท้องเสีย เพราะช่วยฆ่าเชื้อโรคที่เป็นต้นเหตุได้
-ช่วยบรรเทาอาการอาการปวดท้องอย่างเฉียบพลัน
-ช่วยแก้อาการท้องผูก ลดอาการแสบท้อง
-ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ
-ช่วยลดอาการหดเกร็งตามลำไส้
-ช่วยรักษาอาการกรดไหลย้อน
ระบบทางเดินหายใจ
-ช่วยป้องกันและรักษาโรคหอบหืด
-ช่วยรักษาอาการของโรคไซนัสอักเสบ
ระบบผิวหนัง
-ช่วยชะลอและลดการเกิดริ้วรอยก่อนวัย
-ช่วยป้องกันไม่ให้เส้นเลือดฝอยในร่างกายแตกใต้ผิวหนังได้ง่าย
-ช่วยรักษาอาการตกกระที่ผิวเป็นจ้ำ ๆ สีน้ำตาลตามร่างกาย
-ช่วยในการรักษาโรคเริม งูสวัด
-รักษาสิว ฝ้า ตุ่มคัน ตุ่มใส ผื่นคัน พอกฝีหนอง โดยการน้ำใบย่านางเมื่อนำมาผสมกับดินสอพองหรือปูนเคี้ยวหมากจนเหลว แล้วนำมาทา
-ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
-ช่วยรักษาอาการผิวหนังมีความผิดปกติคล้ายรอยไหม้
-ช่วยป้องกันและรักษาอาการส้นเท้าแตก เจ็บส้นเท้า
-ช่วยรักษาอาการเล็บมือเล็บเท้าผุ โดยรักษาอาการเล็บมือเล็บเท้าขวางสั้น ผุ ฉีกง่าย หรือในเล็บมีสีน้ำตาลดำคล้ำ อาการอักเสบที่โคนเล็บ