1.ให้ยืมเฉพาะเท่าที่เสียแล้วรับได้
อย่างแรกที่ทำใจเวลาให้ญาติหรือเพื่อนยืมเงิน คือ เราอาจไม่ได้รับเงินก้อนนั้นคืน ดังนั้น ถ้าคิดจะให้ใครยืมเงิน ให้บอกตัวเองก่อนเลยว่า ถ้าให้ยืมไปแล้วเนี่ย คงไม่ได้เห็นเงินก้อนนี้อีก ทีนี้ก็ค่อยมาคิดดูดี ๆ ว่าเราจะให้ยืมได้เท่าไร เพื่อให้เราเองไม่เดือดร้อนถ้าเสียเงินก้อนนั้นไป แต่ถ้าได้คืนมา ก็ถือว่าดีไป
2. ถ้าอยากรู้สาเหตุให้ถาม
บางคนอาจไม่ต้องการเหตุผลจากคนที่ขอยืมว่าทำไมต้องมายืมเงิน จะได้ไม่ต้องไปนึกถึงมันมาก ให้ยืมแล้วก็จบไป อะไรทำนองนี้ แต่ถ้าหากเราเกิดสงสัย อาจด้วยความเป็นห่วงทั้งตัวคนยืมและเงินที่จะให้ยืม ให้ถามไปเลยว่า ยืมเงินไปทำไม อาจจะเป็นการผ่อนบ้าน ผ่อนรถ จ่ายค่าบัตรเครดิต หรืออะไรก็ตาม
3. เขียนลงเป็นลายลักษณ์อักษร
การจะพูดคุยกันเฉย ๆ แล้วตกลงให้ยืมเงินนั้นเสี่ยงมาก ฉะนั้นให้คุยกันให้ชัดในเรื่องของรายละเอียดว่า จะยืมเท่าไร ผ่านช่องทางไหน จะคืนเงินทางไหน เมื่อไร มีดอกเบี้ยเท่าไร มีคิดเงินค่าชำระเงินสายไหม เป็นต้น
4. บอกคู่สมรส
ถ้าเราแต่งงานแล้ว อย่าตัดสินใจให้ญาติหรือเพื่อนฝูงยืมเงินโดยไม่บอกคู่สมรส เพราะเรื่องการเงินหลังแต่งงาน ถือเป็นเรื่องที่รับผิดชอบร่วมกัน ดังนั้น สามีหรือภรรยาของเราควรมีการรับรู้ด้วย หากเกิดอะไรขึ้นกับเงินก้อนที่จะให้ยืม จะได้ไม่มีปัญหากันภายหลัง
ทั้งนี้จำไว้ว่า ถ้าเราไม่สบายใจที่จะให้ใครยืมเงิน คิดว่าให้ยืมไม่ไหว ให้ปฏิเสธไปเลย อย่ารู้สึกผิด ถ้าเราช่วยได้เราก็ช่วย แต่ถ้าเราช่วยแล้วเราเดือดร้อน อย่าเลยดีกว่าค่ะ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Masii.co.th