ผักชี ของดี เลื่องลือถึงต่างชาติ

533

1. ต้านอนุมูลอิสระ แบคทีเรีย และเชื้อรา

คนญี่ปุ่นฮิตกินผักชีตรงส่วนใบและส่วนต้นผักชีนี่ล่ะค่ะ ซึ่งจากการศึกษาก็พบว่า ใบและต้นของผักชีประกอบไปด้วยสารกลุ่มที่มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระที่ดี อันได้แก่ สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ (flavonoids) สารกลุ่มแลคโตน (lactones) สารกลุ่มฟีโนลิก สารกลุ่มแทนนิน และสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ นอกจากนี้ยังพบว่าใบผักชีและต้นผักชีอุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ด้วยนะคะ

ทั้งนี้ มีงานวิจัยหลายฉบับที่พบว่า ส่วนใบและลำต้นผักชีมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง มีสรรพคุณต้านอาการชักและต้านการถูกทำลายของเซลล์สมอง ต้านแบคทีเรีย เชื้อรา และมีฤทธิ์ช่วยย่อยในระบบทางเดินอาหาร

2. กระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้

ผลแก่ของผักชีเป็นเครื่องเทศที่มีกลิ่นหอม สามารถนำไปประกอบในตัวยา ใช้แต่งกลิ่นอาหาร มีฤทธิ์กระตุ้นต่อมกระเพาะอาหารและลำไส้ให้ขับน้ำดีและน้ำย่อยออกมามากขึ้น อีกทั้งในส่วนน้ำมันหอมระเหยจากผลผักชีแก่ยังพบว่ามีสารยับยั้ง

3. ลดน้ำตาลในเลือด

ผลผักชีและสารสกัดจากผลผักชีมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ และสามารถใช้ร่วมกับยาลดระดับน้ำตาลในเลือดอย่าง glimepiride, glyburide, insulin, pioglitazone และ rosiglitazone เพื่อเสริมประสิทธิภาพตัวยามากขึ้นก็ได้ค่ะ

4. ลดความดันเลือด

นอกจากผักชีจะมีสรรพคุณลดระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว ผลการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของผลและเมล็ดผักชียังพบว่า ส่วนของผักชีดังกล่าวมีฤทธิ์ลดความดันโลหิตได้ และสามารถเสริมประสิทธิภาพให้ยาลดความดันโลหิต เช่น captopril, enalapril, losartan, valsartan, diltiazem, amlodipine, hydrochlorothiazide และ furosemide ทำงานได้อย่างเต็มที่มากขึ้นด้วย

5. ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งที่มาจากการบริโภคอาหารปิ้งย่าง

ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Clinical Nutrition เผยว่า เครื่องเทศรสเผ็ดร้อนอย่างผักชีมีส่วนช่วยยับยั้งสารก่อมะเร็งกลุ่มแอทเทอโรไซคลิกเอมีน หรือ HCAs ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่เกิดจากการประกอบอาหารประเภทปิ้งย่างได้ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Food Science ที่ได้ผลการศึกษาไปในทางเดียวกันด้วย

6. ต้านอาการอักเสบและบำรุงสายตา

จะเห็นได้ว่าผักชีสด 100 กรัมมีเบต้าแคโรทีนมากถึง 3,930 ไมโครกรัม ทั้งยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลากหลายชนิด ซึ่งตรงกับการศึกษาของ Plant Foods for Human Nutrition ที่ระบุว่า สารต้านอนุมูลอิสระที่สูงมากของผักชีมีส่วนช่วยต้านการอักเสบของเซลล์ในร่างกายได้ พร้อมทั้งเบต้าแคโรทีนยังมีส่วนช่วยบำรุงการทำงานของดวงตาได้ดีอีกด้วย

สรรพคุณของผักชีมีดีขนาดนี้ก็เชื่อว่าหลายคนชักอยากจะปลูกผักชีกินเองที่บ้านบ้างแล้วแน่ ๆ ถ้างั้นมาดูวิธีปลูกผักชีที่เรานำมาฝากกันได้เลย